วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Raster Map vs Vector Map

Raster Map vs Vector Map
แผนที่ดิจิตอลในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ Raster และ Vector แผนที่กระดาษที่เราสแกนเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียกว่า Raster Map ส่วน Vector Map จะเป็นแผนที่ที่ถูกใช้ใน GPS
องค์ประกอบของ Raster Map ไม่มีอะไรเลยนอกจากพิกเซลที่เรียงประกอบกันเป็นภาพแผนที่ คอมพิวเตอร์ของเรารู้จัก Raster Map ก็เพียงจุดสีที่ประกอบกันเป็นภาพเท่านั้น ไม่ได้ล่วงรู้เลยว่าถนนหนทางในภาพอยู่ตรงไหน หน้าตาเป็นอย่างไร
ในการสร้าง Vector Map นั้น คอมพิวเตอร์จะยังเห็นภาพแผนที่เป็นตารางพิกเซล โดยกำหนดให้จุด Origin (x = 0, y = 0) ของตาราง (จุดแรกสุดของพิกเซล) อยู่ที่มุมซ้ายบนของภาพแผนที่ เราต้องเข้าไปจิ้มจุด 1, 2, … ,9 เพื่อบอกคอมพิวเตอร์ว่าพิกเซลที่เราจิ้มลงไปนั้นมีพิกัดเท่าใด เมื่อเราจิ้มบอกพิกัดได้สองจุดขึ้นไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะสามารถคำนวนพิกัดของพิกเซลอื่นได้โดยอัตโนมัติ
Vector Map ใช้จุดและเส้นตรงในการโยงจุดเพื่อแสดงภาพแผนที่ โดยฝังข้อมูลของพิกัดเข้าไปในจุดแต่ละจุด พร้อมคำสั่งในการลำดับการโยงจุด เพื่อสื่อถึงองค์ประกอบทุกตัว (Map Objects) ที่รวมกันเป็นภาพแผนที่ เนื่องจากเราสามารถฝังป้ายชื่อ (Label) เข้าไปในทุก Object ของ Vector Map ได้ เราจึงไม่จำเป็นต้องพึ่งจุดสีในแต่ละพิกเซลในการแสดงชื่อดังเช่นใน Raster Map ทำให้การขยายหรือย่อขนาด Vector Map ทำได้โดยไร้ขีดจำกัด ที่สำคัญคือภาพไม่แตก ไม่เหมือนกับการขยายภาพตามปกติ ที่เมื่อขยายจนถึงจุดๆหนึ่งแล้ว ภาพจะแตกหยาบ จนดูไม่ออกว่าเป็นภาพอะไร



<<Raster Map



<< Vector Map


ในภาพเป็นการเปรียบเทียบ Raster กับ Vector Map … Vector Map ใช้จุดเพียงเจ็ดร้อยกว่าจุดเท่านั้นในการแสดงถนนหนทางของพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ทั้งหมด ในขณะที่ Raster Map ขนาดย่อดังในรูปยังแทบใช้ประโยชน์ในการนำทางไม่ได้เลย
เจ็ดร้อยกว่าจุดที่ว่านี้เอง ก็คือฉากหลังทั้งหมดของแผนที่เกาะรัตนโกสินทร์ ที่พร้อมใช้ในเครื่องจีพีเอสและเครื่องเนวิเกเตอร์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า Vector Map ที่มีข้อมูลเพียงจุดพิกัด ข้อมูลในการโยงจุด และข้อมูลในการ Label ใช้ทรัพยากรของเครื่องจีพีเอสน้อยกว่ามาก ไฟล์แผนที่ที่เป็น Raster จะใหญ่กว่า Vector บางทีอาจใหญ่กว่า 50-200 เท่าขึ้นไปทีเดียว
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า ระบบนำทางรถยนต์ หรือเนวิเกเตอร์ ก็คือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GPS ในรูปแบบหนึ่ง เป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างเทคโนโลยี GPS กับเทคโนโลยีแผนที่ หมายความว่าระบบจะฉลาดมากหรือน้อยนั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับแผนที่ว่ามีความละเอียดและความถูกต้องในการกำหนดค่าพิกัดของจุดต่างๆบนแผนที่ เช่น ถนน, อาคาร, ทางแยก ฯลฯ มากน้อยเพียงไร
ใช้ได้จริงหรือ???
เนื่องจากระบบเนวิเกชั่นจะใช้ข้อมูล 2 ส่วนร่วมในการประมวลผล ข้อมูลแผนที่ประเทศไทยแบบดิจิตอลจะถูกเก็บไว้ในแบล็คบ็อกซ์ ส่วนข้อมูลจีพีเอสจะรับมาจากดาวเทียมแบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไร้สายระหว่างแบล็คบ็อกซ์กับดาวเทียมที่ส่งสัญญาณมาจากอวกาศ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย แม้แต่ในพื้นที่ทุรกันดาร การประมวลผลจะเกิดขึ้นภายในแบล็คบ็อกซึ่งถูกติดตั้งไว้ในรถทุกคันแบบ 1 : 1 และแสดงผลไปยังจอภาพซึ่งก็อยู่ภายในรถแต่ละคันนั่นเอง

จะเห็นว่าการสื่อสารจะเกิดขึ้นระหว่างแบล็คบ็อกซ์กับดาวเทียมเท่านั้น ไม่มีการสื่อสารทางภาคพื้นดิน หรือการสื่อสารระหว่างรถยนต์แต่ละคัน
หรือการสื่อสารระหว่างรถกับศูนย์รับสัญญาณดาวเทียมแต่อย่างใดทำให้ไม่มีความจำเป็นสำหรับเครือข่ายภาคพื้นดินเหมือนอย่างโทรศัพท์
มือถือดาวเทียมมีใช้งานมานานแล้ว แบล็คบ็อกซ์มีแล้ว ข้อมูลแผนที่ก็มีแล้ว นั่นหมายความว่าระบบนำทางรถยนต์ หรือระบบเนวิเกชั่น นั้น สามารถนำมาใช้งานจริงได้แน่นอน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น